วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสัมยกรุงสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัย
ลักษณะการปกครอง
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก
อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย

สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธมหรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึงอาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทำสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ การที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะสามารถเข้าถึง กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทยกลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และพระราชธิดาชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและการวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็จ หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้ การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและแตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1 (พ.ศ.-1890 - 1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ในปี พ.ศ.1921 สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลาง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา

สภาพเศรษฐกิจและสังคม

ลักษณะทางเศรษฐกิจ อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทำเครื่องสังคโลกเป็นส่วนประกอบสำคัญ จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมาเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยน่าจะมีเพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอำนาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน สังคมการเกษตร การเกษตรอาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น2 ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำ ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์พื้นที่แถบนี้มีลักษระเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และเนื่องจากลำน้ำยมและลำน้ำน่านมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลบ่ามาจากภูเขาทางภาคเหนือ ทำให้การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ทันยังผลให้มีน้ำท่วมที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านนี้ ซึ่งบริเวณนี้ควรจะทำการเพาะปลูกได้ดีนี้กลับได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนักจากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วยจุดประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อควบคุมน้ำที่ไหลบ่ามาจากบริเวณภูเขา และน้ำที่ล้นมาตามลำน้ำต่างๆ ให้ไหลไปตามแนวทางควบคุมบังคับที่ทำไว้หรือมิฉะนั้นก็เพื่อเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขาแล้วขุดคลองระบายน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการ เพาะปลูกเขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือเขื่อนสรีดภงด์ หรือทำนบพระร่วงเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย นอกจากทำนบเก็บกักน้ำแล้วยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนวยาวตั้งแต่ศรีสัชนาลัยผ่านสุโขทัยออกไปถึงกำแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดังกล่าวข้างต้นทำให้ผืนดินโดยรอบเมืองสุโขทัยพื้นที่ระหว่าง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทำการเพาะปลูกได้ พืชสำคัญที่ปลูกกันมากในอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นพืชหลัก คือ ข้าวรองลงมา ได้แก่มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมากพลู พืชไร่และไม้ผลอื่นๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่การบริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้น และคงจะไม่อุดมสมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจำนวนมาก ๆได้ในด้านรัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนทำการเพาะปลูกด้วยการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้หักร้างถางพงทำการเกษตรในผืนดินต่าง ๆ และที่ดินนั้นยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานได้อีกด้วย ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "สร้างป่าหมากผ่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้..........ใครสร้างได้ไว้แก่มัน""ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายหว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมันช้างขอ ลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น" การที่ต้องลงทุนจัดระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ทางการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่จะสามารถกักเก็บไว้ได้นานเพียงไหน และความสามารถในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ผลผลิตทางการเกษตรจึงไม่ใช่ผลผลิตที่คงที่ บางครั้งสุโขทัยต้องสั่งสินค้าข้าวจากดินแดนทางใต้แถบลพบุรีขึ้นไปเลี้ยงประชากรในอาณาจักร ด้วยเหตุนี้อาณาจักรสุโขทัยจึงไม่มีฐานพลังทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งพอที่จะตั้งตัวเป็นอาณาจักรใหญ่และมีอำนาจอยู่เป็นเวลานานได้

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี

อาณาจักรธนบุรี

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้ การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานีีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ 4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นาการปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมืองการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี) หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี หัวเมืองประเทศราชเป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช

ด้านเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในสมัยกรุงธนบุรี

1. ปัญหาความอดอยากของราษฎร

2. การค้าระหว่างประเทศ

3. การเก็บภาษีอากร

ปัญหาความอดอยากของราษฎร

ตอนปลายสมัยอยุธยาราษฎรไม่สะดวกในการประกอบอาชีพทำมาหากินไม่มีเวลาในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีศึกสงครามมาตั้งแต่ พ.ศ. 2309 พม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ จนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ราษฎรถูกต้อนไปเป็นเชลยจำนวนมาก บางพวกก็หลบหนีภัยสงครามเข้าป่าก็มาก บางพวกก็หนีเข้าไปพึ่งชุมนุมต่าง ๆ หลังจากที่พระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชได้แล้ว ราษฎรเริ่มอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรี โดยการที่พระเจ้าตากสินส่งผู้คนออกไปเกลี้ยกล่อมชักชวนให้เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองจะได้เป็นกำลังในการสร้างชาติ ปัญหาที่ตามมาก็คือ การขาดแคลนอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค พระเจ้าตากสินต้องสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการซื้อข้าวสาร อาหาร เสื้อผ้า แจกราษฎร นอกจากนี้พระเจ้าตากสินยังโปรดให้ทำนานอกฤดูกาลอีกเพื่อให้ได้ข้าวเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการ และสะสมไว้เป็นเสบียงในการยกทัพไปทำสงคราม อาทิ ก่อนยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางทรงมีรับสั่งให้ทำนาปรัง เพื่อเตรียมข้าวสารในการออกรบ

การค้าระหว่างประเทศ

ในระยะแรกพระเจ้าตากสินทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการซื้อข้าวสารแจกราษฎร โดยให้ราคาสูง ทำให้ชาวต่างชาติที่ทราบข่าวก็นำสินค้าเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาขายมีราคาถูกลง ตามหลักเศรษฐศาสตร์เรื่อง อุปสงค์และอุปทาน กล่าวคือ ประการที่หนึ่ง เมื่อพ่อค้าชาวต่างชาติทราบว่าสินค้าที่นำเข้ามาขาย ที่กรุงธนบุรี จำหน่ายได้ดีและได้ราคาสูง ชาวต่างชาติก็นำสินค้าลงเรือมาขายยังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก สามารถบรรเทาความอดอยาก และการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค

ประการที่สอง เมื่อราษฎรที่หลบหนีอยู่ตามป่าทราบข่าว ว่าพระเจ้าตากสิน ซื้อข้าวปลาอาหารแจกราษฎร ต่างก็พากันออกจากป่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรีเพิ่มขึ้น จะได้เป็นกำลังของชาติในการรวบรวมอาณาจักรต่อไป

ประการที่สาม เมื่อพ่อค้าแข่งขันกันนำสินค้าเข้ามาขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เกินความต้องการของราษฎร ราคาสินค้าก็ถูกลงตามลำดับความเดือนร้อนของราษฎรก็หมดไป หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ พระเจ้าตากสิน โปรดให้แต่งสำเภา ออกไปค้าขายยังประเทศจีน* เป็นส่วนใหญ่ และยังติดต่อขอซื้อทองแดงจากญี่ปุ่น

การเก็บภาษีอากร

หลังจากที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รายได้ของรัฐ ที่เก็บจากราษฎรยังคงใช้อย่างอยุธยาตอนปลายดังนี้จกอบ หมายถึง ภาษีผ่านด่านเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาขาย อากร หมายถึง ภาษีที่เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพทุกชนิดยกเว้นการค้าขาย ฤชา หมายถึง ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรที่ใช้บริการของรัฐเช่นการออกโฉนดที่ดิน ค่าปรับผู้แพ้คดี ส่วย หมายถึง เงิน หรือ สิ่งของที่เก็บแทนการเกณฑ์แรงงานของราษฎรที่ต้องเข้าเวร

ชนชั้นทางสังคม

ชนชั้นทางสังคมในสมัยกรุงธนบุรียังคงเหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนี้

พระมหากษัตริย์และเจ้านาย

ขุนนางหรือข้าราชการ

ไพร่หรือราษฎรหรือสามัญชน

1. เจ้านาย คือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ทุกคนจะเป็นเจ้านายหมด ลูกหลานของพระมหากษัตริย์จะถูกลดสกุลยศตามลำดับ และ ภายใน 5 ชั่วคน ลูกหลานของเจ้านายก็จะกลายเป็นสามัญชน ราชสกุลยศจะมีเพียง 5 ชั้นคือ เจ้าฟ้า เป็นชั้นสูงสุด เจ้าฟ้าคือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติจากอัครมเหสีพระองค์เจ้า คือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติแด่พระสนม หรือเป็นพระโอรส ธิดาของเจ้าฟ้าหม่อมเจ้า คือ พระโอรส ธิดา ของพระองค์เจ้าหม่อมราชวงศ์ คือ บุตรธิดาของหม่อมเจ้าหม่อมหลวง คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์พอถึงชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ก็ถือว่าเป็นสามัญชนแล้วมิได้มีสิทธิพิเศษเช่นเจ้านายชั้นสูงแต่อย่างใดเพื่อเฉลิมพระเกียรติและตอบแทนเจ้านายที่ได้ทำความดีความชอบในราชการ พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งเจ้านายนั้น ๆ ให้ทรงกรม ซึ่งมีลำดับขั้นเหมือนกับยศของขุนนางดังนี้ชั้นสูงสุดคือ กรมพระยา กรมพระ กรมหลวง กรมขุน กรมหมื่น ตามลำดับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ถ้าได้ทรงกรมจะเริ่มตั้งแต่ กรมขุน ขึ้นไป ตั้งแต่พระองค์เจ้าลงมาเมื่อได้ทรงกรม จะต้องเริ่มตั้งแต่ กรมหมื่น สิทธิพิเศษของเจ้านายคือ เมื่อเกิดมีคดี ศาลอื่น ๆ จะตัดสินไม่ได้นอกจากศาลกรมวัง และจะขายเจ้านายลงเป็นทาสไม่ได้ เจ้านายจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงานด้วยประการใด ๆ

2. ขุนนาง หรือ ข้าราชการ ยศของขุนนางเรียงลำดับจากขั้นสูงสุดลงไปดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนายพระมหากษัตริย์จะพระราชทานยศและเลื่อนยศ ให้ตามความดีความชอบ นอกจากยศแล้วพระมหากษัตริย์ยังพระราชทานราชทินนามต่อท้ายยศให้ขุนนางด้วย ราชทินนามจะเป็นเครื่องบอกหน้าที่ที่ได้ เช่น เจ้าพระยามหาเสนา พระยาจ่าแสนยากร มักจะเป็นขุนนางฝ่ายทหาร เจ้าพระยาจักรี พระยาธรรมา พระยาพลเทพ พระยาพระคลัง เป็นขุนนางฝ่ายพลเรือน สิทธิพิเศษของขุนนางคือไม่โดยเกณฑ์แรงงานและสิทธินี้ครอบคลุมไปถึงผู้เป็นลูกด้วย ขุนนางที่มีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป มีสิทธิแต่งตั้งทนายว่าความให้ในศาล ได้เข้าเฝ้า และมีสิทธิ์มีไพร่อยู่ในสังกัดได้

3. ไพร่ หรือ สามัญชน หมายถึง ผู้ชายที่มีอายุ 18 – 60 ปี ชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนจะต้องสักเลก เพื่อสังกัดเจ้านายหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า มูลนาย หากผู้ใดขัดขืน มิยอมสังกัดมูลนาย หรือไปรายงานตัวเป็นไพร่ จะมีโทษและจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เช่นไม่มีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินทำกิน จะฟ้องร้องใครไม่ได้ ไพร่มี 3 ประเภทดังนี้3.1 ไพร่สม คือ ชายที่มีอายุ 18 – 20 ปี สังกัดมูลนายที่เป็นเจ้านายและขุนนางเพื่อให้ฝึกหัดใช้งาน3.2 ไพร่หลวง คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี มีหน้าที่รับราชการแผ่นดิน ตามการเกณฑ์แรงงานตามสมัยแต่ถ้ามีลูกเข้าเกณฑ์แรงงานแทนตนถึง 3 คน ก็จะไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้ปลดออกจากราชการได้ก่อนอายุ 60 ปี3.3 ไพร่ส่วย คือ ชายที่มีอายุ 20 – 60 ปี ที่ไม่ประสงค์เข้ารับราชการ โดนเกณฑ์แรงงาน รัฐบาลอนุญาตให้นำเงินหรือสิ่งของมาชำระแทนแรงงานได้ เรียกเงินหรือสิ่งของที่ใช้แทนแรงงานว่า ส่วย หรือเงินค่าราชการ

4. ทาส มีอยู่ 7 ประเภทดังนี้

4.1 ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตัวเองหรือถูกผู้อื่นขายให้แก่นายเงินต้องทำงานจนกว่าจะหาเงินมาไถ่ค่าตัวได้ จึงจะหลุดพ้นเป็นไท

4.2 ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกของทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อ แม่กำลังเป็นทาสอยู่

4.3 ทาสได้มาแต่บิดามารดา คือ ลูกทาสที่ได้จากพ่อหรือแม่ของเด็กที่เป็นทาส

4.4 ทาสท่านให้ คือ ทาสที่เดิมเป็นของผู้หนึ่งแล้วถูกยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของอีกผู้หนึ่ง

4.5 ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑโทษ คือ ผู้ที่ถูกต้องโทษต้องเสียค่าปรับแต่ไม่มีเงินให้ แล้วมีนายเงินเอาเงิน มาใช้แทนให้ ผู้ต้องโทษก็ต้องเป็นทาสของนายเงิน

4.6 ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ในเวลามีภัยธรรมชาติทำให้ข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคน อดอยากไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ต้องอาศัยมูลนายกิน ในที่สุดก็ต้องยอมเป็นทาสของมูลนายนั้น

4.7 ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากการรบทัพจับศึกหรือการทำสงคราม เมื่อได้ชัยชนะจะต้อน ผู้แพ้สงครามมาเป็นทาส

การปกครอง

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่
กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน
กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย
กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของปร
การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ

การกอบกู้เอกราช

การกอบกู้เอกราช
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[1] พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย"[2] และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310[3]
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[4] และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี[5]
การรวมชาติและการขยายตัว
ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง[6]
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311[7] เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพะรเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ

ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี
การสิ้นสุด
ช่วงปลายรัชกาล เกิดการรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[9] เจ้าพระยาจักรีทราบข่าวก็รีบกลับมายังพระนคร เมื่อสืบสวนเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ข้าราชการก็ฟ้องร้องว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเหตุ เนื่องจากทรงมีสติฟั่นเฟือน[10] ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2325 เจ้าพระยาจักรีจึงเข้าควบคุมสถานการณ์ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[11]

แบบทดสอบ http://www.krudom.com/test%201/M_3/Pawat_M307.html

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา

การปกครองสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎกรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย
การเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)

ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ

1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"

อาณาเขต

กรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงก่อตั้งในปี พ.ศ.1893 นั้น
มีทำเลที่ตั้งที่ดีมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และในด้านการค้า กล่าวคือ ตัวเมือง
อยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทาง
ด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้ ดังนั้นเพียงแต่ขุดลำคู
ขื่อหน้าทางด้านตะวันออกเชื่อมแม่น้ำเหล่านั้น อยุธยาก็กลายเป็นเมืองเกาะที่
มีลำน้ำรอบครบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเช่นนี้นับเป็นปราการธรรมชาติอันมั่นคง
ช่วยป้องกันการโจมตีของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนั้นการตั้งอยู่ในบริเวณที่
ลุ่มทำให้ช่วงระยะระหว่าง เดือนกันยายน - ธันวาคมของทุกปี จะมีน้ำหลาก
ท่วมรอบกรุงศรีอยุธยาเป็นบริเวณกว้าง เท่ากับเป็นการบังคับให้ฝ่ายข้าศึกมี
โอกาสล้อมโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ 8 เดือนเท่านั้นและเมื่อล้อมอยู่
ถึงหน้าน้ำหลากแล้ว ก็จำต้องยกทัพกลับไปโดยปริยาย
ทำเลที่ตั้งเช่นนี้นอกจากจะให้ผลดีในด้านยุทธศาสตร์แล้วยังทำให้อยุธยา
สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไป เช่นสุโขทัยได้สะดวกโดยอาศัย
แม่นำเจ้าพระยาและสาขา นอกจากนั้นการที่อยุธยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ลึกเข้าไป
ในผืนแผ่นดินแต่ก็ไม่ไกลจากปากน้ำจนเกินไป จึงทำให้อยุธยาสามารถติดต่อ
ค้าขายทางเรือกับต่างประเทศได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้า
คนกลางติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น กับพวกพ่อค้าต่างชาติอื่นๆ อยุธยา
จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
นอกจากทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และด้านการค้า
แล้วมีข้อน่าสังเกตว่าตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร อยุธยามีพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้าน
เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านกำลังทางทหารซึ่งพื้นฐานที่ดีทั้ง 3 ประการนี้มี
ส่วนอย่างมากในการช่วยเกื้อหนุน ให้อยุธยาสามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรือง
สร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างรวดเร็ว จนก้าวเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองใน
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางตอนบนและตอนล่าง

สภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

การเกษตร

ตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีในด้านการค้าขาย
กับต่างประเทศ และยังมีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรอีกด้วย เพราะอยุธยาตั้งอยู่
ในบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่
การเพาะปลูกเป็นอย่างยิ่ง และพืชที่เพาะปลูกกันมากก็คือ ข้าว ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรทำให้อยุธยาสมารถผลิตอาหารเลี้ยงผู้คนได้เป็นจำนวนมาก แต่การเกษตรของอยุธยายังเป็นการเกษตรแบบพอยังชีพ กล่าวคือใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักใหญ่ ด้านการชลประทานนั้นรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมแต่อย่างใดการขุดคลองต่างๆ ก็เพื่อสนองความต้องการทางด้านยุทธศาสตร์การคมนาคมและการระบายน้ำที่ท่วมตอนหน้าน้ำเท่านั้น มิได้ขุดเพื่อผลประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมโดยตรงแม้ว่ารัฐบาลในสมัยอยุธยาตอนต้น จะไม่ได้ส่งเสริมการเกษตรมากนัก แต่สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินทำให้อยุธยาสามารถผลิตอาหารเลี้ยงดูผู้คน ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นรากฐานสำคัญอย่างหนึ่งของการเสริมสร้างและแผ่ขยายอาณาจักรการเกษตร จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจอยุธยามาตลอดระยะเวลา 417 ปี

การค้ากับต่างประเทศ

ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991) การค้ากับต่างประเทศที่มีอยู่เป็นการค้าสำเภากับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดียชวาและฟิลิปปินส์ แต่อยุธยามีการติดต่อค้าขายกับจีนมากที่สุด การค้าสำเภาส่วนใหญ่ในสมัยนี้เราดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์เจ้านายและขุนนางมีการค้าของเอกชนบ้าง การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นจึงเป็นการผูกขาดกลาย ๆ หรือโดยทางอ้อม แต่ระดับของการผูกขาดยังมีไม่มากรูปแบบการค้าเสรียังมีอยู่พ่อค้าต่างชาติยังสามารถติดต่อค้าขายกับราษฎรและพ่อค้าชาติอื่น ๆ ที่อยู่ในอยุธยาได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐบาลคือพระคลังสินค้า เหมือนดังเช่นในสมัยหลัง กล่าวโดยสรุปการค้ากับต่างประเทศ นับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐ กล่าวคือหากรัฐบาล
เป็นผู้ประกอบการค้าเองก็จะได้ผลกำไรแต่ถ้าไม่ได้ค้าขายเองก็จะได้ภาษีซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก

รายได้ของรัฐ

สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังตอ่ไปนี้
จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎร
โดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะ
ที่ขนสินค้าผ่านด่าน
อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ
ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐ
และจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่น
อนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ
1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราช
ฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทาง
ราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้
ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงิน
พินัยหลวง" รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษีสินค้าขาออก

สภาพสังคม


การปกครองแบบจตุสดมภ์

ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของสังคม 6 ชนชั้น คือ
1. พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมืองทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม ในทางสังคมทรงเป็นผู้นำสังคม และเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป้นอาณาจักรที่กว้างขวาง จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็งเป็นที่เกรงขามขอประชาชน ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา ทำให้กษัตริย์อยู่ในฐานเทพเจ้า

2. เจ้านาย ประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วยเหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
3. ขุนนาง ชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาส เข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่า ไพร่หลวง
4. พระสงฆ์ คือบุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก คือ พวกที่บวชตลอดชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือ เจ้านาย ซึ่งรวม เรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90% ของคนในสังคมอยุธยา
6. ทาส คือ ชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาสสมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได 2 ประเภท คือ
- ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่
- ทาสที่ซื้ออิสรภาพอขงตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย

แบบทดสอบ http://uploadingit.com/d/BTYW0TFBTQ9YAFGT